ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช เขียนบทความ เลี้ยงเด็กให้เป็นคนดี ใน ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 51 ที่ผ่าน อ่านแล้วต้องขอเก็บไว้ใช้สำหรับลูกปัญญ์
- เล่านิทานก่อนนอน ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่า
- อย่าสอนให้เด็กอิจฉา ริษยา อย่าให้เกิดการเปรียบเทียบ
- อย่าขู่เด็ก ควรใช้เหตุผล ใช้การหว่านล้อมมากกว่าข่มขู่ หรือหลอก
- ผู้ใหญ่ควรรักษาอารมณ์ให้คงเส้น คงวา ไม่ลงโทษโดยใช้อารมณ์
- อย่านำปัญหาครอบครัว การเมือง การงานมาพูดให้เด็กฟัง
- พ่อ-แม่ควรมีเวลาอยู่กันพร้อมหน้า โดยเฉพาะอาหารเย็น
- พาลูกไปงานตามสมควร เพื่อไม่มีประสบการณ์ในการวางตัว
- ไม่ควรให้รางวัลเด็กอย่างพร่ำเพรื่อ การที่เด็กประพฤติดี เรียนดี ถือเป็นการทำหน้าที่อยู่แล้ว
- ไม่ควรให้เงินเด็กมากเกินไป
- ควรสอนเด็กด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
- พ่อแม่ต้องพาเด็กไปวัดไปหาพระ และประกอบพิธีทางศาสนา
- ที่บ้านควรมีตู้หนังสือ สอนการรักการอ่านให้กับเด็ก การอ่านหนังสือเป็นการสร้างสมาธิและการคิด
- การที่จะทำให้เด็กมีจิตใจดี มีเมตตากรุณานั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการให้เด็กมีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัข การเลี้ยงหมามีผลต่อการสร้างความเมตตา และทำให้จิตใจอ่อนโยนยิ่งกว่าการฟังหรือเล่นดนตรี เพราะการเลี้ยงหมาเป็นปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต
- ควรหางานอดิเรกให้เด็กทำ เพราะเป็นการสอนการใช้เวลาว่างที่ดี
- ควรสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก โดยยกตัวอย่างผู้มีความดี หรือประสบความสำเร็จให้เด็กอยากเอาอย่าง
- ควรสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เด็ก ให้เด็กทำสิ่งที่ง่ายไปหายาก และคอยให้กำลังใจ ไม่ตำหนิหากเด็กมีความผิดพลาด
- สอนให้เด็กมีสัมมาคารวะ มีความอ่อนโยน แต่ก็มีจิตใจที่เข้มแข็ง
- ให้เด็กรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ตัว
- ไม่สนับสนุนให้เด็กชอบความหรูหรา ฟุ่มเฟือย หรือนิยมวัตถุสินค้าราคาแพง
- สอนให้เด็กเข้าใจว่า การตรงต่อเวลามีความสำคัญ
- สอนให้เด็กตระหนักถึงความซื่อสัตย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
- สอนให้เด็กมีความอดทนในการทำงาน และทำงานอย่างมีคุณภาพ
- สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา
- สอนให้เด็กมีวินัยในตนเอง ควบคุมตัวเองได้ ใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์
- สอนให้เด็กมองโลกในแง่ดี รู้จักอุเบกขา และการให้อภัย ไม่ผูกใจเจ็บอาฆาตคน แต่ต้องรู้จักระมัดระวังตัว หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และความรุนแรง
- สอนให้เด็กรู้จักเสียสละ และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
- พาเด็กไปเที่ยวในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติที่สวยงาม เพื่อย้อมใจให้เกิดความรักในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- เวลาเด็กทำผิด หากไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรงก็เพียงแต่ตักเตือน การตักเตือนอาจใช้เพียงภาษากายก็พอ ไม่จำเป็นต้องดุด่าว่ากล่าว หากเด็กรู้ตัวว่าผิดแล้วก็ไม่ควรซ้ำเติม
- ให้ความไว้วางใจแก่เด็ก ไม่ใช่เอาแต่ห้ามหรือคอยระแวดระวังจับผิด
- ให้ความเป็นเพื่อนกับเด็ก
ข้อมูลจาก ผู้จัดการรายวัน – เลี้ยงเด็กให้เป็นคนดี